ตัวอย่างและประโยชน์จากการใช้ ERP (1/2)
- Boom
- 2 มี.ค. 2567
- ยาว 2 นาที
อัปเดตเมื่อ 16 เม.ย. 2567

15 ตัวอย่างการนำ ERP ไปใช้จริง
หากคุณเป็นเจ้าของกิจการหรือหัวหน้าฝ่ายการเงิน คุณคงทราบดีว่า ระบบ ERP “คืออะไร” ERP คือการรวมข้อมูลไว้เป็นหนึ่งเดียวและมีชุด application ต่างๆ รวมเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การเงิน ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) HR การบริการลูกค้า และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับกระบวนธุรกิจ การนำ ERP มาใช้งานทำให้เกิดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่รวดเร็วผ่าน insight ต่างๆ และการมีประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นช่วยให้องค์กรประหยัดเงินได้
แต่องค์กร “จะทำอย่างไร” ที่จะใช้ modules ต่างๆ ของ ERP ให้ได้ประโยชน์ที่แท้จริง บทบาทของระบบ ERP แต่ละส่วนคืออะไรที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เราจะอธิบายตัวอย่างของการนำ ERP แต่ละ module ไปใช้จริง และดูว่าระบบนี้ช่วยธุรกิจในมุมที่แตกต่างกันอย่างไร
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
ในอดีตทีมจัดการสินค้าปลีก จะยึดข้อมูลระดับสินค้าคงคลังจากการตรวจนับสินค้าคงเหลือทั้งหมดในครั้งเดียว (physical count) ซึ่งติดตามได้จาก spreadsheet แต่พนักงานในคลังสินค้ากลับไม่เชื่อข้อมูลนี้ และสินค้าต่างๆ หมดสต็อคเนื่องจากบริษัทจะสั่งสินค้าก็ต่อเมื่อของต่างๆ ในชั้นวางสินค้าใกล้หมด การเติมสต็อคค่อนค้างช้าและไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากพนักงานคลังสินค้าประสบปัญหากับการหาสินค้าไม่เจอบ่อยครั้ง
แต่เมื่อผู้ค้าปลีกหันมาใช้ module เกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ทำให้เห็นถึงระดับสินค้าคงคลังแบบ real-time และอัพเดทสต็อคระหว่างจัดส่งไปทางคลังสินค้า ในทุกๆ เช้า ผู้จัดการฝ่ายปฎิบัติการ (operation manager) สามารถเปรียบเทียบปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่กับข้อมูลการขาย เพื่อตัดสินใจว่าบริษัทควรจะทำใบสั่งซื่อสินค้าเข้ามาเพิ่มหรือไม่ และะทีมคลังสินค้าเองก็สามารถเพิ่ม order รายวันได้ เนื่องจากแอพพลิเคชั่นสามารถแสดงข้อมูลสินค้าทุกตัวในพิกัดที่ถูกต้องได้
การจัดซื้อ (Purchasing)
ปรกติแล้วผู้ผลิตใช้เวลาในการหา suppliers และรวบรวมใบเสนอราคาเกี่ยวกับวัตถุตั้งต้นที่จะนำมาผลิตสินค้าเป็นเวลานาน และพนักงานเองจะต้องส่งใบเสนอราคา เปรียบเทียบ เลือก supplier และทำใบสั่งซื้อแบบ manual ทำให้พนักงานเองหลงลืมที่จะอัพเดทรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ supplier ที่ถูกเลือก ส่งผลให้กระบวนการทำงานช้าลงกว่าเดิม
แต่เมื่อลงทุนซื้อ module เกี่ยวกับการจัดซื้อแล้ว ผู้ผลิตสามารถขอใบเสนอราคาได้แบบอัติโนมัติ เก็บข้อมูลการตอบกลับได้ไว้ในที่เดียว และส่งใบ PO ได้เพียงไม่กี่คลิก ทำให้ช่วยลดเวลาลงไปมาก และ module นี้จะช่วยเก็บรายชื่อ supplier เจ้าต่างๆ และให้ผู้ผลิตสามารถติดตามสถานะของ PO ที่ค้างชำระแต่ละตัวได้
การขายและการตลาด (Sales and Marketing)
เมื่อทีมขายที่มากประสบการณ์ที่ทำงานอยู่ในบริษัทที่มีขนาดกลางรู้สึกท้อแท้มากขึ้นเรื่อย ๆ กับงานที่ต้องออกใบเสนอราคาและใบสั่งขาย ตัวแทนขายเองก็พบอุปสรรคกับการตามว่าจะมองหาผู้ที่มีโอกาสจะมาเป็นลูกค้าได้จากที่ใดในสายงานขายนั้นและยังต้องมาดูอีกว่าผู้บริภาคท่านใดพร้อมที่จะทำการสั่งซื้อสินค้าอีกครั้ง อีกทั้งธุรกิจเองก็ต้องการขยายฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีโอกาสจะมาซื้อสินค้า (potential buyers) เช่นกัน แต่กลับไม่รู้วิธีการบริหารจัดการอีเมลในเชิงการตลาด ช่องทางการติดต่อ และสื่อดิจิทัล
แอพพลิเคชั่น ERP จึงเข้ามาช่วยตัวแทนฝ่ายขายในการเปลี่ยนใบเสนอราคาให้เป็นใบสั่งขายได้เพียงเวลาไม่กี่นาทีและส่งเข้าระบบเพื่อทำใบกำกับภาษีส่งให้ลูกค้าต่อไป ทีมขายและทีมการตลาดเองก็จะเห็นว่าลูกค้าอยู่ในกระบวนการสั่งซื้อขั้นใดแล้วเพื่อที่จะได้ตัดสินว่าจะต้องทำสิ่งใดต่อไป เครื่องมือทางการตลาดจาก ERP ก็จะช่วยให้ผู้จัดจำหน่ายสร้างรายชื่อลูกค้าและเจาะกลุ่มที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่เพื่อส่งอีเมลและสื่อโฆษณาผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มยอดขายประจำปีได้มากถึง 10%
การผลิต (Manufacturing)
ในช่วงปีแรก ๆ ผู้ผลิตรายย่อยมักเลือกใช้กระดาษและ spreadsheet ในการตรวจสอบวัตถุตั้งต้นในการผลิตและจำนวนการผลิตรายวัน แต่เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ทำให้การทำงานแบบ manual กลายเป็นอุปสรรคใหญ่ องค์กรต้องสูญเสียเวลาการผลิตไปจำนวนมากจากการขาดสต็อคของวัตถุดิบและการคำนวณปริมาณการผลิตเองก็เป็นเรื่องยากอีกด้วย
หลังจากที่มีการซื้อ Module เกี่ยวกับการผลิต ทำให้ผู้ผลิตหลายรายสามารถเห็นแผนการผลิตในหลายๆ เดือนข้างหน้าได้ และเปรียบเทียบวัตถุที่มีอยู่กับ order ที่ต้องจัดหาได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดตามผลผลิตตามแผนที่วางไว้ และเมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นก็จะสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้และจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น
5. การบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Management)
ด้วยโฟกัสที่มุ่งมั่นต่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ แม้แบรนด์ที่มีการขายสินค้าด้วยการติดต่อกับลูกค้าโดยตรง (direct-to-customer : D2C) มักจะมี CRM และมีแพลตฟอร์มการทำการตลอดออนไลน์ แต่ทุกอย่างยังคงต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือ online banking และจำนวน spreadsheet ที่ผสมปนเปกันไปหมด และยังต้องติดตามบัญชีเจ้าหนี้และบัญชีลูกหนี้แบบ manual ที่ใช้เวลาดำเนินการนานอีกด้วย สิ่งเหล่านี้เองทำให้องค์กรไม่ทราบถึง insight ต่าง ๆ ซึ่งทำให้องค์กรอาจอยู่ในจุดอันตรายได้ในหลาย ๆ ครั้ง
จากเหตุการณ์เหล่านี้ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ หันมาเลือกใช้ module การบริหารจัดการทางการเงิน เพื่อเก็บข้อมูลบัญชีเจ้าหนี้และบัญชีลูกหนี้ทั้งหมด รวมถึงสามารถบริหารสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไปได้อีกด้วย ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ สามารถควบคุมการไหลเวียนของเงินในธุรกิจ (cash flow) และการใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ module นี้จะช่วยให้นักบัญชีต้องสร้าง document ทางการเงินต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นใบรายการแจ้งยอดรับและจ่ายเงิน (balance sheet) งบบัญชีกระแสเงินสด (cash flow statement) และใบเสร็จรับเงิน (payment receipts) ระบบ ERP ยังใช้ AI และ Machine Learning ในการชี้จุด error หรือการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเปรียบเทียบธุรกรรมกับข้อมูลที่กรอกเข้าระบบจำนวนนับพัน
6. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM)
เมื่อรายได้ของอุตสาหกรรมค่อนข้างคงที่จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ผู้จัดจำหน่ายย่อมต้องการหากลุ่มลูกค้าใหม่และค้นพบโอกาสในการเพิ่มยอดขายกับกลุ่มลูกค้าเดิมไปพร้อม ๆ กัน แต่ข้อมูลของกลุ่มลูกค้าเหล่านี้กลับไม่สมบูรณ์และไม่สอดคล้องกัน
ผู้จัดจำหน่ายจึงควรลงทุน CRM ERP Module เพราะเมื่อลูกค้าหรือกลุ่มที่มีโอกาสจะเป็นลูกค้ากรอกแบบฟอร์มบนเว็บไซต์แล้ว ข้อมูลทุกอย่างจะส่งตรงเข้าสู่ CRM และจะสร้างการแจ้งเตือนเพื่อให้ตัวแทนฝ่ายขายทำการติดตามลูกค้าในทันที module นี้จะรวมข้อมูลประวัติการซื้อของลูกค้าทุกรายไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้ธุรกิจสามารถล็อคกลุ่มลูกค้ากับสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเขาได้ เช่นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากแบรนด์หรือของเพิ่มเติมอื่น ๆ เมื่อลูกค้ามีคำถามหรือเกิดปัญหากับสินค้า ทีมบริการลูกค้าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีเนื่องจากเห็นกระบวนการต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับลูกค้า
7. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM)
เมื่อบริษัทผู้ค้าปลีกที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วมักประสบปัญหากับการรับมือกับจำนวน order ที่เพิ่มขึ้นและสินค้าจัดส่งช้า ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะรับมือไหว แม้ว่าองค์กรจะมีการจัดการกับสินค้าคงคลังและจำนวน order แล้วก็ตาม กลับกลายเป็นว่ายิ่งทำให้การติดตามใบสั่งซื้อ ยอดสั่งซื้อสินค้าและการจัดส่งเป็นไปยากขึ้น
องค์กรจึงหันมาใช้ SCM Module เพื่อช่วยให้ผู้ค้าปลีกจัดการกับยอดสั่งซื้อ สามารถควบคุมการผลิตและเปรียบเทียบระหว่างความต้องการและ จัดลำดับ order ต่างๆ โดยดูได้ว่าสินค้าจะไปถึงคลังเมื่อไร และ module นี้จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อลูกค้ามีการขอคืนสินค้า พนักงานเพียงแค่สแกนสินค้า เก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้าแต่ละตัว และทำการเปลี่ยนสินค้าคืนให้หากจำเป็น เพียงเท่านี้ธุรกิจก็จะอยู่ในจุดที่คล่องตัวขึ้นในขณะที่ยอดขายเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
Comments